ตอกเสาเข็มบ้าน
Kali terakhir kemas kini
Harga:
R.F.Q
Share Product:
Butiran
“บ้านที่มั่นคง ต้องมีฐานรากที่แข็งแรง”
ฐานของบ้านก็ต้องมี “เสาเข็ม TTS” ที่มีมาตรฐาน
เสาเข็มคือส่วนที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวบ้าน และกระจายน้ำหนักไปยังชั้นดินใต้อาคาร โดยใช้แรงพยุงตัวที่เกิดจากแรงเสียดทานของดิน กับพื้นที่ผิวรอบเสาเข็ม หรือใช้การถ่ายตรงลงสู่ชั้นดินหรือหินแข็งโดยตรง เพื่อไม่ให้บ้านหรืออาคารทรุดจมลงไปในดิน
โครงสร้างบ้านแบบไหนต้องใช้เสาเข็ม?
นอกเหนือจากตัวบ้านแล้ว โครงสร้างบ้านส่วนที่จำเป็นต้องลงเสาเข็ม เพื่อไม่ให้ทรุดตัวเร็วเกินไป เช่น พื้นคอนกรีตรอบบ้าน ลานซักล้าง ลานจอดรถ เป็นต้น
ถ้าไม่อยากให้บ้านทรุดตัวเร็ว ต้องให้วิศวกรออกแบบ ให้ตอกเสาเข็มสั้นเพื่อรองรับให้ทรุดตัวในระดับใกล้เคียงกันกับตัวบ้าน
และในกรณีที่จำเป็นต้องให้วิศวกรคำนวณออกแบบเสาเข็มรองรับไว้ คือพื้นที่ในส่วนที่ต้องรองรับน้ำหนักมากๆ เช่น บริเวณที่วางแท็งค์น้ำบนดิน สระว่ายน้ำ หากไม่ลงเสาเข็มรองรับน้ำหนักไว้ จะส่งผลให้พื้นที่นั้นทรุดลงเร็วกว่าปรกติ
สร้างบ้านใหม่ต้องใช้เสาเข็มแบบไหน ?
ถ้าเป็นบ้านสร้างใหม่ไม่เกิน 2 ชั้น มักจะใช้เสาเข็มคอนกรีตแบบเข็มตอก เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย มักใช้เป็นแบบเสาเข็มไอ ความยาวปานกลาง ระหว่าง 12 – 16 เมตร ซึ่งเข็มไอระดับนี้ ส่วนใหญ่จะยังคงอาศัยแรงฝืดของดินเป็นตัวรองรับน้ำหนักอยู่
เสาเข็มอีกประเภทที่ใช้ใน บ้านพักอาศัย ทั้งสร้างบ้านใหม่ และงานต่อเติมบ้าน คือ เข็มเจาะ ซึ่งจะเป็นเข็มเจาะระบบเล็กสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องมือเข้าไปทำงานในพื้นที่น้อยได้ ทำงานเจาะดิน หล่อเข็มได้โดยไม่สร้างแรงสะเทือน กับโครงสร้างอาคารเดิม และเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง
สอบถามเพิ่มเติมและสำรวจหน้างาน
โทรคุณอะตอม 080-258-2981